การเลือกใช้งาน และ สูตรคำนวณ หาขนาดของ มู่เล่ย์ pulley ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
มู่เล่ย์ pulley เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความสำคัญอย่างมากในระบบสายพานลำเลียงเพราะว่ามู่เล่ย์จะทำงานควบคู่กับอุปกรณ์อุปกรณ์ทุกชนิด ลองนึกภาพดูว่า หากมูเล่ย์เสียหายไม่สามารถทำงาน ได้นั่นหมายความว่าระบบ ต่างๆก็ต้องหยุดทำงานทันทีพร้อมๆกัน ความเสียหายเกิดขึ้นกับการผลิตจะมหาศาลขนาดไหน คนที่รับผิดชอบโรงงานนั้นย่อมรู้ดีที่สุด เมื่อ pulley มีความสำคัญขนาดนี้หลายท่านก็คงอยากทราบว่าเราจะมีพื้นฐานการเลือกใช้ประเภท pulley ที่ถูกต้องอย่างไร เพราะที่ผ่านๆมาหลายท่านคงไม่เคยสนใจเรื่องของ pulley จริงๆ จังๆ เลย
1.Standard duty conveyor pulley ( มู่เล่ย์ แบบใช้งานมาตรฐาน )
เป็นความโชคดีอย่างยิ่งที่ pulley ประเภทนี้มีขาใหญ่ เป็นผู้ให้มาตรฐานเอาไว้บ้าง ขาใหญ่ที่กล่าวถึงก็คือ CEMA( Conveyor Equipment Manufacturers Association ) ได้จัดมาตรฐานของ welded steel conveyor pulley (CEMA standard B105.1) และ Welded Steel Wing Pulley (CEMA standard B501.1) ไว้ซึ้งใน Standard ได้กำหนด load ratings ,allowable vibration , crown dimension และระยะห่างๆต่างๆ( overall dimension ) ที่จำเป็นระหว่างชิ้นส่วน( part ) ต่างๆ ซึ่งหากท่าผู้ใดสนใจก็สามารถเดินตามการคำนวนและข้อแนะนำที่เขาตั้ง standard ไว้ ซึ้งประกอบด้วยสูตรและตารางต่างๆให้เลือกได้ เป็นที่ไว้ใจว่าปลอดภัยแน่เพราะค่าต่างๆเหล่านั้นได้มาจากประสบการณ์อันยาวนานของการใช้งาน แล้วรวบรวมมาเป็นสูตรสำเร็จให้พวกเราได้ใช้กัน
2.Heavy duty conveyor Pulley ( มูเล่ย์ ประเภทใช้งานหนัก)
Pulley ประเภทนี้ จัดเป็นประเภทที่ใช้งานหนักกว่าแบบ standard duty เช่น มีชั่วโมงการทำงานมากกว่า มี impact load หรือ ใช้งานในพื้นที่ที่มีการกัดกร่อนสูง (high corrosion) ดังนั้นจึงต้องเพิ่มความหนาของผิว (shell) และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเพลา (shaft diameter) ให้โตขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้งานทั้งนี้พื้นฐานการคำนวนยังยึดหลักเช่นเดียวกับ standard duty pulley ทุกประการ
3.Mine duty conveyor pulley ( มูเลย์ ใช้ในงานเหมือง)
ยอมรับกันว่างานเหมืองเป็นงานที่โหดและอำมหิตมากกว่างานอย่างอื่น เพราะขาดความปลอดภัยและอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ต้องเจอกับการใช้งานแบบ ไม่มีหยุด ตลอด 24 ชม. เหมืองส่วนมากจะรีบผลิคเพื่อให้ได้ผลผลิตมากๆ เนื่องจากระยะเวลามีจำกัดจึงพบว่าการทำงานของเครื่องจักรนั้นจะเกินกำลังแบบสุดๆ หรือ OverLoad นั้นเอง ที่ออกแบบไว้เสมอๆนอกจากนี้สภาพของเหมืองเองต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่เรียกว่าไม่เหมือนกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เจอกับขนาดของวัสดุ(lump) ที่ใหญ่มาก สภาพของพื้นที่ที่เปียกชื้น ร้อนจัด ฯลฯ
4.Engineered class pulleys (มูเลย์ สั่งทำพิเศษ)
มู่เลย์ชนิดนี้เป็นชนิดพิเศษ ที่ออกแบบให้เฉพาะเจาะจงตามคำสั่ง หรือการที่สั่งทำขึ้นมา ของผู้ใช้งานจริง ดังนั้นการออกแบบ ต้องสามารถเช็กย้อนกลับหรือสามารถเช็คการเสียหายได้แทบทุกขั้นตอน ต้องเลือกวัสดุแบบพิถีพิถัน ต้องมีใบรับรองขั้นตอนการผลิตจะต้องถูกควบคุมดูแลจะต้องใช้เทคนิคเหมาะสมกับการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงนั้นๆ
ตัวอย่างการหาขนาดมู่เล่ย์ (Pulley)
หลักการคำนวน ขนาดของมู่เล่ (Pulley)
MP : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมู่เล่ย์ของต้นกำลัง (เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์)
MR : ความเร็วรอบของต้นกำลัง (เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์)
LP : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมู่เล่ย์ของโหลด (พ่นยาสามสูบ)
LR : ความเร็วรอบของโหลด (พ่นยาสามสูบ)
Case Study #1 ตัวอย่าง #1
เครื่องพ่นยาสามสูบ ให้มู่เล่ย์แถมมาขนาด 8 นิ้ว ความเร็วรอบ
1,000 – 1,200 RPM ต้องการใช้มอเตอร์ Mitsubishi ขนาด 1.5 HP ความเร็ว รอบปกติ (มอเตอร์ 4 โพล = 1,450 RMP)
ดังนั้นต้องใช้มู่เล่ย์สำหรับมอเตอร์ ขนาดเท่าไร?
Case Study #2 ตัวอย่าง #2
เครื่องพ่นยาสามสูบ ให้มู่เล่ย์แถมมาขนาด 8 นิ้ว ความเร็วรอบ 1,000 – 1,200 RPM
ต้องการใช้เครื่องยนต์เบนซินอเนกประสงค์
Mitsubishi ขนาด 5.5HP ซึ่งมีความเร็วรอบ 3,600 RPM
ดังนั้นต้องใช้มู่เล่ย์สำหรับเครื่องยนต์ ขนาดเท่าไร ?
คร่าวๆ ชนิดของมู่เล่ย์ ก็มีประมาณนี้นะครับ จะเลือกจะซื้อ มู่เลย์ หรือ มอเตอร์ อย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งาน ก็สามารถเข้ามาปรึกษาทางเราก่อนได้ จะได้ไม่เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดได้ ขอบคุณครับ ^_^
สอบถามข้อมูลได้ที่
088-227-6543,02-618-5000