การบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมี (Wastewater Treatment Chemicals)

การบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมี

          การบำบัดน้ำเสียจากชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรมเป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ การบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมเคมีลงในน้ำดูเหมือนจะเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีการบำบัดที่มีประสิทธิภาพ แต่การบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมเคมีอาจไม่เหมาะกับการบำบัดน้ำเสียบางกลุ่ม ดังนั้นเราจึงต้องเลือกวิธีการบำบัดให้เหมาะกับสภาพน้ำ

ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมเคมีมีด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. การตกตะกอนโดยใช้สารเคมี (Coagulation)

          เป็นการเติมสารเคมีเพื่อเปลี่ยนสภาพของแข็งแขวนลอยที่มีขนาดเล็กให้จับตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ขึ้นและตกลงไปยังก้นถัง วิธีการนี้จะใช้ในกรณีที่น้ำเสียมีสารแขวนลอยที่มีประจุลบ เช่น ดินเหนียว ดินเหนียวไม่สามารถตกตะตอนด้วยตัวเองได้ จึงจะต้องเติมสารเคมีที่มีประจุบวกลงไปเพื่อทำให้เกิดความเป็นกลาง จากนั้นดินเหนียวก็จะจับตัวกันเป็นก้อนแล้วตกลงไปที่ก้นถัง สารเคมีที่มีประจุบวกที่นิยมนำมาใช้กันได้แก่ สารส้มและเกลือเหล็ก

  1. การทำให้เป็นกลาง (Neutralization)

          เป็นการปรับสภาพน้ำที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างหรือค่า pH ให้อยู่ในสภาพที่เป็นกลาง โดยค่า pH ที่เป็นกลางจะอยู่ในช่วง 5- 7 หากน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูงจะต้องนำด่างมาเติม ซึ่งด่างที่นิยมนำมาใช้กันคือโซดาไฟ (NaOH), ปูนขาว (CaO), หรือแอมโมเนีย (NH3) เป็นต้น โลหะหนักบางชนิดได้แก่ สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว แคดเมียม จะละลายน้ำได้ดีเมื่อค่า pH ต่ำ โซดาไฟและปูนขาวจึงถูกนำมาใช้เพื่อแยกสารโลหะหนักให้ตกตะกอนและสามารถแยกออกจากน้ำได้

          ส่วนน้ำที่มีค่าความเป็นด่างสูงก็จะต้องนำกรดมาเติมเพื่อปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางมากที่สุด โดยกรดที่นิยมนำมาใช้ได้แก่ กรดกํามะถัน (H2SO4), กรดเกลือ (HCL), หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สำหรับการตกตะกอนบางชนิดอาจจะต้องทำให้เป็นกรดหรือด่างก่อนเติมสารลงไปในน้ำ เพื่อไม่ให้ตะกอนสามารถกลับไปละลายในน้ำได้อีก

  1. การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการแลกประจุ (Ion Exchange)

          การบำบัดน้ำเสียด้วยการแลกประจุ เป็นการเติมสารสังเคราะห์ประเภทเรซิ่น (Synthetic Resin) ลงไปในน้ำ ซึ่งสารสังเคราะห์ประเภทเรซิ่นถูกค้นพบว่ามีความสามารถในการแลกประจุได้ดี สามารถกำจัดโลหะหนัก เช่น เหล็กและโครเมียม หรือพวกสารอาหาร เช่น ไนโตรเจน แอมโมเนีย และฟอสเฟต ออกจากน้ำทิ้งได้ และยังช่วยป้องกันไม่ให้สาหร่ายเกิดขึ้นมากจนเกินไป

          เมื่อใช้งานจนหมดสภาพแล้วเรซิ่นสามารถปรับคืนสภาพและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเรซิ่นชนิดที่เป็นกรดแก่หรือกรดอ่อนนำมาแลกกับประจุลบด้วยเกลือแกงหรือกรดเกลือ ส่วนเรซิ่นที่เป็นด่างแก่หรือด่างอ่อนนำมาแลกกับประจุลบด้วยโซดาไฟหรือสารละลายแอมโมเนีย ทำให้เรซิ่นมีอายุการใช้งาน 3-4 ปี

  1. วิธีบำบัดน้ำเสียโดยการดูดซับด้วยผงถ่าน (Carbon Adsorption)

          เป็นการบำบัดน้ำเสียที่นำผงถ่านมาดูดซับสี สารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ออกจากน้ำ โดยการปล่อยน้ำเสียให้ไหลผ่านถังกรองถ่านอย่างช้าๆ ผงถ่านจะดูดซับเอาสารต่างๆออกทำให้ได้น้ำที่สามารถปล่อยทิ้งหรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อได้

          การบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมีที่ต้องการความแม่นยำในการเติมสาร สามารถกำหนดเวลาและปริมาณในการเติมสารได้อย่างชัดเจนควรเลือกใช้ปั๊มมิเตอร์ริ่ง ยกตัวอย่างปั๊มที่ใช้ในการเติมสารเคมี เช่น มิเตอร์ริ่งปั๊ม DOSSER รุ่น MSJ1 Series, Dosser รุ่น MSJ2 Series, มิเตอร์ริ่งปั๊ม DOSSER รุ่น MMG1 Series, DOSSER รุ่น MMG2 Series, DOSSER รุ่น MMG3 Series, และมิเตอร์ริ่งปั๊ม DOSSER รุ่น MMJ1 Series เนื้อวัสดุเป็นแบบ PVC สามารถนำไปใช้งานกับสารเคมีประเภทกรดเกลือ กรดไนตริกชนิดเจือจาง กรดกำมะถัน กรดฟอร์มิก และสารส้ม นอกจากนี้ยังมีมิเตอร์ปั๊มที่เป็นวัสดุ PVDF และSS304 ให้เลือกใช้งานอีกด้วย

บริษัท อินดัสทรี้โปร จำกัด

☎ : 088-227-6543

✉ : sales@industrypro.co.th

Line : @industrypro

Facebook : Industrypro