เลือกปั๊มน้ำอย่างไร?
ปั๊มน้ำ Water pump เป็นสิ่งจำเป็น อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม หรือบ้านพักอาศัย หน้าที่คือช่วยจ่ายน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งาน และช่วยในงานภาคการเกษตรอีกมากมาย การเลือกใช้ปั๊มจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้
ปั๊มน้ำ Water pump เป็นอุปกรณ์เพิ่มแรงดันน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานด้วยมอเตอร์(ไฟฟ้า) และแบบที่ใช้เครื่องยนต์ (น้ำมัน) ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังหมุนส่งกำลังให้ปั๊มทำงาน โดยปั๊มแบ่งตามลักษณะการทำงานออกเป็น 2 แบบ คือ
1.ปั๊มแบบลูกสูบ
กลไกลการทำงานของปั๊มแบบลูกสูบคือ การชักลูกสูบ เลื่อนไป-มา และมีวาล์วเปิด-ปิดสำหรับน้ำที่เข้าออกจากลูกสูบ ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงดันน้ำโดยตรง สมัยก่อนนิยมใช้ในการเกษตร ข้อดีของปั๊มแบบลูกสูบก็คือสามารถสร้างแรงดันน้ำได้สูง แต่มีข้อเสียที่ให้ปริมาณน้ำน้อย ไม่พอตามความต้องการ
2.ปั๊มแบบใบพัด
กลไกลการทำงานของปั๊มแบบใบพัดคือ ทำงานด้วยการหมุนของใบพัด ทำให้เกิดแรงดันจ่ายไปตามท่อน้ำ ข้อดีคือขนาดเล็ก หลักการทำงานง่าย ชิ้นส่วนไม่มาก จ่ายน้ำได้ในปริมาณมาก สร้างแรงดันน้ำได้มากพอควร ถ้าหากต้องการแรงดันสูงสามารถนำปั๊มมาต่อกันแบบมัลติสเตทได้ ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก
ประเภทของปั๊ม แบ่งตามสถานที่และลักษณะความต้องการในการใช้งาน แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
1.ปั๊มอัตโนมัติ
เป็นปั๊ม ที่นิยมใช้กัน มีทั้งที่ทำจากเหล็ก และสแตนเลส เป็นการใช้ใบพัดในการสร้างแรงดันน้ำให้ไหลไปตามท่อ โดยมีสวิทช์เปิดปิดควบคุมเวลาที่เราใช้น้ำจะทำให้ความดันในปั๊มค่อยๆลดลงจนสุดปั๊มก็จะทำงานเป็นจังหวะ ตามการใช้งานจริง ทำให้ประหยัดไฟ ปั๊มอัตโนมัติ จึงเหมาะกับอาคาร ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว มากกว่า
2.ปั๊มแบบแรงดัน
เป็นปั๊มที่มีการทำงานอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับปั๊มแบบเก่าหรือปั๊มแบบอัตโนมัติ โดยปั๊มแบบแรงดันนี้จะทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ตัวเล็ก หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่เป็นโลหะซึ่งเป็นที่มาของการเกิดเสียงดังเวลาที่ปั๊มทำงาน ปั๊มแบบแรงดัน เหมาะสำหรับ อพาร์ทเม้นท์ อาคารตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้าน
3.ปั๊มหอยโข่ง
ปั๊มประเภทนี้ ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีหลายแบบให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม เพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม คือ สูบน้ำได้ปริมาณมาก สามารถสูบน้ำสะอาดหรือไม่สะอาดก็ได้ เนื่องจากสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในน้ำ ไม่ค่อยมีผลเสียต่อปั๊มประเภทนี้มากนัก การใช้งานก็มีอยู่อย่างกว้างขวาง ทั้งในไร่นา สวนผัก สวนผลไม้ หรือแม้แต่ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เครื่องสูบน้ำแบบนี้ เหมาะสำหรับสูบน้ำในแม่น้ำลำธาร บ่อน้ำ คูคลอง หรืออ่างเก็บน้ำที่มีระดับต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่เกิน 10 เมตร การทำงานของปั๊มจะทำการสูบน้ำโดยใช้ระบบใบพัด ความเร็วรอบสูง จะทำให้ได้ปริมาณน้ำมาก อัตราการไหลอยู่ที่ 20,000 ถึง 45,000 ลิตร/ชั้วโมง ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะใบพัด Total Head 15-20 เมตร ถ้าเป็นหอยโข่งรุ่น 2 ใบพัด, 3 ใบพัด Head จะมากขึ้น
4.ปั๊มแบบจุ่ม
หรือปั๊มแช่ ใช้กับงานสูบน้ำออก ข้อดีคือความสะดวกกับการเก็บในพื้นที่ ที่จำกัด ตัวปั๊มจะต้องอยู่ในน้ำแล้วส่งน้ำขึ้นไปยังพื้นที่ที่ต้องการผ่านสายยางหรือท่อน้ำที่ต่อไว้ ส่วนข้อเสียนั้นก็ไม่พ้นเรื่องแรงดันน้ำที่ได้ค่อนข้างน้อย และระยะทางที่ค่อนข้างสั้นแต่ในบางสถานการณ์ปั๊มแบบนี้ก็เป็นพระเอกได้เหมือนกันซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่จะใช้งาน ปั๊มแบบจุ่ม หรือแบบแช่ เหมาะสำหรับงานน้ำท่วม ใช้ระบายน้ำในพื้นที่จำกัด งานถ่ายเทน้ำฝน งานก่อสร้าง ให้น้ำในสวนหรือที่ไร่นาในงานเกษตร, งานระบายน้ำดี หรือน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงปลา, บ่อเลี้ยงกุ้ง, เลน, บ่อน้ำพุในสระ หรืองานสูบของเหลวที่มีความหนืดสูง เช่น น้ำปลา,น้ำยาง,น้ำข้าว,น้ำแป้ง
5.ปั๊มชัก
เป็นปั๊มแบบลูกสูบทำงานคู่กับมอเตอร์ นิยมใช้ในงานการเกษตร เพราะปั๊มประเภทนี้ สามารถส่งน้ำไกล มีระดับการส่งน้ำ Heat ที่สูงถึง 20-100 เมตร อัตราส่งน้ำที่ขั้นต่ำที่ 3,000ลิตร/นาที ส่วนข้อเสียนั้นคือมีเสียงที่ดัง (มาก) จึงนิยมนำมาใช้ในงานเกษตร หรืองานปศุสัตว์ มากกว่า นำมาใช้งานตามบ้านทั่วไป ปั๊มชักเหมาะสำหรับสูบน้ำในแม่น้ำลำธาร บ่อน้ำ คูคลอง หรืออ่างเก็บน้ำที่มีระดับต่ำกว่าระดับพื้นดิน 10-30 เมตรในแนวดิ่ง
6.ปั๊มสำหรับสารเคมี
โดยส่วนใหญ่ปั๊มสารเคมีจะทำงานด้วยระบบใบพัดแต่จะแตกต่างกันด้วยวัสดุที่ใช้ในการผลิตตัวปั๊มโดยตัววัสดุของหัวปั๊มจะมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของสารเคมี เช่นโพรี่โพไพรีน นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เพราะทนความร้อนได้สูง และทนต่อสารระลาย หรือน้ำเค็ม เป็นต้น
7.ปั๊มดูดของหนืดของข้น
เป็นปั๊มที่ใช้ดูของเหลวที่มีความหนืดมากกว่าปกติ เช่นน้ำมัน, น้ำมันเครื่อง, น้ำเชื่อม โดยส่วนใหญ่ทำงานด้วยระบบเฟืองขับ(นิยมเรียกว่าเกียร์ปั๊ม) นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น น้ำมัน, boiler, ยางมะตอย เป็นต้น
ปั๊มแต่ละประเภท ก็มีข้อดีในตัวแตกต่างกันไป อยู่ที่ว่าผู้ใช้จะเลือกใช้ไปในงานด้านไหน การเลือกใช้ปั๊มให้ถูกต้องตามลักษณะพื้นที่จะเป็นอีกหนึ่ง หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาน เพราะการลดต้นทุนในด้านแรงงานสำหรับการเกษตร เพราะระบบน้ำถือเป็นหัวใจหลักที่สำคัญมากๆ สำหรับงานเกษตร และภาคอุตสาหกร
นอกจากนี้เรายังมีอะไหล่ของสินค้า และบริการหลังการขาย หากลูกค้าท่านใดต้องการคำแนะนำหรืออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ทางบริษัทอินดัสทริ้โปร ยินดีให้คำแนะนำ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ TEL 088-227-6543 รับชมวีดีโอเพิ่มเติม ได้ที่ YOUTUBE : INDUSTRYPRO