วิธีการดูแลรักษามอเตอร์
เราต้องดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และถูกต้องเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน มีวิธีการดูแลและการเก็บรักษาคือ
ควรติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้น อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่โดนแสงแดด ฝุ่น หรือก๊าชที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
และไม่ควรอยู่ใกล้หม้อไอน้ำหรืออุปกรณ์ที่เกิดไอความชื้น หากไม่ได้ใช้งานควรจัดวางไว้บนพาเลทเพื่อป้องกันความชื้น
เนื่องจากความชื้นเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนไฟฟ้า โดยอายุการใช้งานมักจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้งานว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยวัสดุที่เป็นฉนวนและแบริ่ง(Bearing) ไม่สามารถทนทานอุณหภูมิที่เกินพิกัดได้ จึงเกิดความเสียหายตามมา ซึ่งส่งผลให้ฉนวนเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นการนำไฟฟ้าก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทั้งนี้ สาเหตุหลักๆ ของอุณหภูมิสูงเกินพิกัดมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น
- ติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการระบายอากาศได้ดี
- มีความร้อนสะสมสูง สาเหตุเกิดจากการสตาร์ทอย่างต่อเนื่องส่งผลให้กระแสไฟฟ้าในช่วงสตาร์ททำงานสูงเป็นพิเศษ
- การขับโหลดที่มีกำลังเกินพิกัด
- การเลือก Moter ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
การดูแลรักษานั้นระหว่างการเก็บรักษา ความต้านทานของฉนวนควรจะสูงกว่าค่าที่ระบุไว้ และควรทดสอบความต้านทานฉนวนกันความร้อนทุกๆ 3 เดือน หากไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานาน (หนึ่งสัปดาห์ขึ้นไป) หลังจากติดตั้งหรือใช้งานแล้วแต่หยุดทำงานเป็นระยะเวลาหนึ่ง ให้ดูแลรักษาตามวิธีการที่ระบุไว้ในเอกสารจากโรงงานผู้ผลิต และทดสอบความต้านทานฉนวนกันความร้อน หากได้รับการติดตั้งร่องเพลา เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนตัวของเพลาและใบพัดในระหว่างการขนส่ง ป้องกันความเสียหายต่อแบริ่ง ต้องนำออกก่อนการใช้งาน
Moterที่ติดตั้ง Sleeve Bearings จะถูกส่งจากโรงงานพร้อมกับ Bearing Oil นั้น ในการเก็บรักษา ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่น (Oil Reservoir) ให้อยู่ในระดับตามมาตรวัดระดับน้ำมัน โดยน้ำมันจะเป็นการยับยั้งการเกิดสนิมที่ดี และเพลาควรมีการทดสอบการหมุนหลายๆ รอบในทุกเดือน เพื่อให้แน่ใจว่าเพลาไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ในตำแหน่งเดิม
Moterที่มีการหล่อลื่นตลับลูกปืนด้วยจาระบีตามมาตรฐานโรงงาน เพลาควรมีการหมุนอย่างสม่ำเสมอในทุกเดือน เพื่อรักษาการกระจายตัวของจาระบีภายในตลับลูกปืน แต่หากตลับลูกปืนเป็นแบบ Tilt Pad ซึ่งเป็นตลับลูกปืนแบบที่มีการออกแบบพิเศษที่ไม่สามารถจัดหาแหวนน้ำมันหล่อลื่นสำหรับการหล่อลื่นได้ ดังนั้น ในระหว่างการจัดเก็บ ต้องมีการเติมน้ำมันด้วยตนเองลงในแพด (Pads) และเฮาส์ซิ่ง (Housing) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชันของชิ้นส่วน โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.ถอดฝาครอบตลับลูกปืนที่อยู่บน Tilt-Bearing Shell ออก
2.ใส่น้ำมันประมาณหนึ่งถ้วยต่อเดือนและหมุนเพลา 2 รอบทุกๆ 2 สัปดาห์
3.สำหรับการเก็บรักษาเป็นเวลานานควรถอดน้ำมันที่สะสมอยู่ในตัวเครื่องออก
การดูแลขดลวดก็เป็นเรื่องสำคัญควรตรวจดูขดลวดของMoterในทุกๆ 3 ปีหรือ 5 ปี อาจตรวจสอบฉนวนที่เคลือบอยู่และทำการเคลือบฉนวนซ้ำ การเคลือบฉนวน Moter มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการเปลี่ยน Moter ใหม่ ดังนั้นสำหรับคนที่มีงบไม่มากวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดกับเพลาของมอเตอร์และชิ้นส่วนอื่นๆได้อย่างมาก ก่อนที่จะเดินเครื่องควรตรวจสอบขั้วไฟฟ้าต่างๆ ว่าแน่นเพียงพอหรือไม่ และควรติดตั้งในตำแหน่งที่ปราศจากการสั่นสะเทือน เพื่อไม่ให้เกิดการสั่นสะเทือนจนเป็นสาเหตุให้ขั้วต่อไฟฟ้าหลวม หากขั้วไฟฟ้าหลวมเมื่อใช้งานไปจะเกิดความร้อนขึ้นที่จุดต่อนี้ และมีโอกาสที่จะทำให้ Moter เสียหายได้ แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมในจุดต่อที่หลวมจะทำให้ Moter ทำงานที่ระดับแรงดันต่ำกว่าพิกัด ส่งผลให้เกิดความร้อนในตัวMoter ยิ่งไปกว่านี้หากจุดต่อเกิดการแตกหักและหลวมจนทำให้เฟสของแรงดันไม่ครบ กรณีนี้ Moter จะเสียหายได้เกือบจะทันที
ข้อควรปฏิบัติ
- ขณะยังใช้งานอยู่ ควรเติมจาระบีตามกำหนด หรือเมื่อแบริ่งมีเสียงดัง ตรวจดูการระบายความร้อนไม่ให้มีสิ่งกีดขวางทางระบายลม
- ขณะหยุดนิ่ง กรณีไม่มีความเสียหายให้ขันจุดต่อของไฟฟ้าและสภาพทั่วไปของการต่อเครื่องจักรหรือโหลด กรณีเสียหายต้องถอดมาเปิดตรวจเช็คจุดต่างๆ
- การพิจารณาดูค่าจากการตรวจเช็คต่างๆ บางครั้งสามารถเปรียบเทียบกับมาตรฐานได้
- ในกรณีที่เกิดความสกปรกมากและต้องการล้างสิ่งสกปรกออก ควรถอดแยกชิ้นส่วนก่อน แล้วแยกล้างเป็นชิ้นส่วน โดยการล้างอาจจะใช้น้ำสะอาดหรือสารละลายต่างๆ ที่มีคุณสมบัติที่ไม่กัดกร่อน แล้วนำชิ้นส่วนที่ล้างแล้วทำให้แห้งสนิทก่อนจะประกอบใหม่ หลังจากทำให้แห้งแล้วอาจจะนำสเตเตอร์หรือโรเตอร์ที่มีขดลวดมาจุ่มวาร์นิช เพื่อเป็นการปิดรอยแตกต่างๆของพวกฉนวนเป็นการยืดอายุของฉนวนได้Moter
หากสนใจสินค้า Industry pro คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่ด้านล่าง
นอกจากนี้เรายังมีอะไหล่ของสินค้า และบริการหลังการขาย หากลูกค้าท่านใดต้องการคำแนะนำหรืออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ทางบริษัทอินดัสทริ้โปร ยินดีให้คำแนะนำ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ TEL 088-227-6543 รับชมวีดีโอเพิ่มเติม ได้ที่ YOUTUBE : INDUSTRYPRO