การเลือกใช้งาน และ สูตรคำนวณ หาขนาดของ มู่เล่ย์ pulley ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
มู่เล่ย์ pulley เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความสำคัญอย่างมากในระบบสายพานลำเลียงเพราะว่ามู่เล่ย์จะทำงานควบคู่กับอุปกรณ์อุปกรณ์ทุกชนิด ลองนึกภาพดูว่า หากมูเล่ย์เสียหายไม่สามารถทำงาน ได้นั่นหมายความว่าระบบ ต่างๆก็ต้องหยุดทำงานทันทีพร้อมๆกัน ความเสียหายเกิดขึ้นกับการผลิตจะมหาศาลขนาดไหน คนที่รับผิดชอบโรงงานนั้นย่อมรู้ดีที่สุด เมื่อ pulley มีความสำคัญขนาดนี้หลายท่านก็คงอยากทราบว่าเราจะมีพื้นฐานการเลือกใช้ประเภท pulley ที่ถูกต้องอย่างไร เพราะที่ผ่านๆมาหลายท่านคงไม่เคยสนใจเรื่องของ pulley จริง ๆ จัง ๆ เลย
1.Standard duty conveyor pulley (มู่เล่ย์ แบบใช้งานมาตรฐาน)
เป็นความโชคดีอย่างยิ่งที่ pulley ประเภทนี้มีขาใหญ่ เป็นผู้ให้มาตรฐานเอาไว้บ้าง ขาใหญ่ที่กล่าวถึงก็คือ CEMA (Conveyor Equipment Manufacturers Association) ได้จัดมาตรฐานของ welded steel conveyor pulley (CEMA standard B105.1) และ Welded Steel Wing Pulley (CEMA standard B501.1) ไว้ซึ้งใน Standard ได้กำหนด load ratings ,allowable vibration , crown dimension และระยะห่าง ๆ ต่าง ๆ (overall dimension) ที่จำเป็นระหว่างชิ้นส่วน (part) ต่าง ๆ ซึ่งหากท่าผู้ใดสนใจก็สามารถเดินตามการคำนวนและข้อแนะนำที่เขาตั้ง standard ไว้ ซึ้งประกอบด้วยสูตรและตารางต่างๆให้เลือกได้ เป็นที่ไว้ใจว่าปลอดภัยแน่เพราะค่าต่าง ๆ เหล่านั้นได้มาจากประสบการณ์อันยาวนานของการใช้งาน แล้วรวบรวมมาเป็นสูตรสำเร็จให้พวกเราได้ใช้กัน
2.Heavy duty conveyor Pulley (มูเล่ย์ ประเภทใช้งานหนัก)
Pulley ประเภทนี้ จัดเป็นประเภทที่ใช้งานหนักกว่าแบบ standard duty เช่น มีชั่วโมงการทำงานมากกว่า มี impact load หรือ ใช้งานในพื้นที่ที่มีการกัดกร่อนสูง (high corrosion) ดังนั้นจึงต้องเพิ่มความหนาของผิว (shell) และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเพลา (shaft diameter) ให้โตขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้งานทั้งนี้พื้นฐานการคำนวนยังยึดหลักเช่นเดียวกับ standard duty pulley ทุกประการ
3.Mine duty conveyor pulley (มูเลย์ ใช้ในงานเหมือง)
ยอมรับกันว่างานเหมืองเป็นงานที่โหดและอำมหิตมากกว่างานอย่างอื่น เพราะขาดความปลอดภัยและอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ต้องเจอกับการใช้งานแบบ ไม่มีหยุด ตลอด 24 ชม. เหมืองส่วนมากจะรีบผลิคเพื่อให้ได้ผลผลิตมากๆ เนื่องจากระยะเวลามีจำกัดจึงพบว่าการทำงานของเครื่องจักรนั้นจะเกินกำลังแบบสุดๆ หรือ OverLoad นั้นเอง ที่ออกแบบไว้เสมอๆนอกจากนี้สภาพของเหมืองเองต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่เรียกว่าไม่เหมือนกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เจอกับขนาดของวัสดุ (lump) ที่ใหญ่มาก สภาพของพื้นที่ที่เปียกชื้น ร้อนจัด ฯลฯ
4.Engineered class pulleys (มูเลย์ สั่งทำพิเศษ)
มู่เลย์ชนิดนี้เป็นชนิดพิเศษ ที่ออกแบบให้เฉพาะเจาะจงตามคำสั่ง หรือการที่สั่งทำขึ้นมา ของผู้ใช้งานจริง ดังนั้นการออกแบบ ต้องสามารถเช็กย้อนกลับหรือสามารถเช็คการเสียหายได้แทบทุกขั้นตอน ต้องเลือกวัสดุแบบพิถีพิถัน ต้องมีใบรับรองขั้นตอนการผลิตจะต้องถูกควบคุมดูแลจะต้องใช้เทคนิคเหมาะสมกับการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงนั้น ๆ
ตัวอย่างการหาขนาดมู่เล่ย์ (Pulley)
หลักการคำนวน ขนาดของมู่เล่ (Pulley)
MP : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมู่เล่ย์ของต้นกำลัง (เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์)
MR : ความเร็วรอบของต้นกำลัง (เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์)
LP : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมู่เล่ย์ของโหลด (พ่นยาสามสูบ)
LR : ความเร็วรอบของโหลด (พ่นยาสามสูบ)
Case Study #1 ตัวอย่าง #1
เครื่องพ่นยาสามสูบ ให้มู่เล่ย์แถมมาขนาด 8 นิ้ว ความเร็วรอบ
1,000 – 1,200 RPM ต้องการใช้มอเตอร์ Mitsubishi ขนาด 1.5 HP ความเร็ว รอบปกติ (มอเตอร์ 4 โพล = 1,450 RMP)
ดังนั้นต้องใช้มู่เล่ย์สำหรับมอเตอร์ ขนาดเท่าไร ?
Case Study #2 ตัวอย่าง #2
เครื่องพ่นยาสามสูบ ให้มู่เล่ย์แถมมาขนาด 8 นิ้ว ความเร็วรอบ 1,000 – 1,200 RPM
ต้องการใช้เครื่องยนต์เบนซินอเนกประสงค์
Mitsubishi ขนาด 5.5HP ซึ่งมีความเร็วรอบ 3,600 RPM
ดังนั้นต้องใช้มู่เล่ย์สำหรับเครื่องยนต์ ขนาดเท่าไร ?
คร่าวๆ ชนิดของมู่เล่ย์ ก็มีประมาณนี้นะครับ จะเลือกจะซื้อ มู่เลย์ หรือ มอเตอร์ อย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งาน ก็สามารถเข้ามาปรึกษาทางเราก่อนได้ จะได้ไม่เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดได้ ขอบคุณครับ ^_^
สอบถามข้อมูลได้ที่
088-227-6543,02-618-5000
[vc_single_image image=”187047″ img_size=”full” onclick=”custom_link” link=”https://lin.ee/CoLY8NF”]
นอกจากนี้เรายังมีอะไหล่ของสินค้า และบริการหลังการขาย หากลูกค้าท่านใดต้องการคำแนะนำหรืออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ทางบริษัทอินดัสทริ้โปร ยินดีให้คำแนะนำ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ TEL 088-227-6543 รับชมวีดีโอเพิ่มเติม ได้ที่ YOUTUBE : INDUSTRYPRO